การจัดตั้งชมรม TO
BE NUMBER ONE
ชมรม
TO BE NUMBER ONE เป็นชมรมที่รวบรวมคนดี
คนเก่งและคนที่มีอุดมการณ์ที่จะสร้างกิจกรรมดีๆ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน สามารถจัดตั้งขึ้นได้ทั้งในสถานศึกษา
สถานประกอบการ และชุมชน โดยชมรมในสถานศึกษาสมาชิกได้แก่ นักเรียน
นักศึกษาในสถานศึกษานั้นๆ ชมรมในสถานประกอบการสมาชิก ได้แก่
พนักงาน/ลูกจ้างในสถานประกอบการนั้นๆ ชมรมในชุมชน สมาชิก ได้แก่
เด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไปในชุมชนนั้นๆ
หลักเกณฑ์การตั้งชมรม TO
BE NUMBER ONE
องค์ประกอบในการดำเนินงานของชมรมTO BE NUMBER ONE ประกอบด้วย
3 ก ได้แก่
1. คณะกรรมการ
หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างน้อย 5 คน เพื่อเป็นกรรมการชมรมประกอบด้วย
1. ประธาน 1 ตำแหน่ง
2. รองประธาน 1 ตำแหน่ง
3. เลขานุการ 1 ตำแหน่ง
4. กรรมการ 3 ตำแหน่งขึ้นไป
5. เหรัญญิก 1 ตำแหน่ง
และจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการจัดทำแผนงาน โครงการ
งบประมาณ และกิจกรรมของชมรม อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
คณะกรรมการ ได้จาก
1 การคัดเลือก
2 การเลือกตั้ง
3 อาสาสมัคร
ตัวอย่างการแบ่งคณะกรรมการ เช่น
1. ฝ่ายจัดหาทุน
2. ฝ่ายกิจกรรม
3. ฝ่ายประชาสัมพันธ์
4. ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์
5. ฝ่ายสอดส่องดูแลและประเมินผล
หมายเหตุ การแบ่งฝ่ายของคณะกรรมการขึ้นอยู่กับความต้องการ /
ดุลยพินิจของแต่ละชมรม ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
2.กิจกรรมชมรม
หมายถึง
“ การทำอะไรก็ได้ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ” เป็นสิ่งที่ชมรมจัดขึ้นเพื่อสมาชิกภายในชมรม หรือ
มอบหมายสมาชิกเข้าร่วมดำเนินการกับหน่วยงาน/ องค์กรภายนอก
การนับจำนวนตามเกณฑ์ชี้วัดว่าชมรมดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้นับรวมกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกไม่น้อยกว่า
3 ครั้ง / ปี ที่สำคัญต้องเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้สมาชิกใช้
เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เกิดความภาคภูมิใจ และมองเห็นคุณค่าของตนเอง
อันเป็นหนทางห่างไกลยาเสพติด
รวมทั้งให้โอกาสและสนับสนุนการคืนคนดีสู่สังคมของสมาชิก “ใครติดยายกมือขึ้น”
กิจกรรมภายใน เช่น การจัดกีฬาสี การจัดประกวดต่างๆ การจัดนิทรรศการ
ฯลฯ ส่วนกิจกรรมภายนอก เช่น การไปร่วมเดินรณรงค์โครงการเพื่อสังคมต่างๆ
การไปช่วยทำความสะอาด เก็บขยะ ทาสีกำแพงวัด หรือ ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
กิจกรรมของชมรมต่างจากกิจกรรมของศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE เพราะกิจกรรมของศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE จัดได้เฉพาะภายในศูนย์และเพื่อสมาชิกที่มาใช้บริการที่ศูนย์ภายใต้กรอบ
" ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา และพัฒนา EQ "
เท่านั้น
การจัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกชมรม ดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลัก 3 ยุทธศาสตร์ของโครงการ ได้แก่
2.1 กิจกรรมในยุทธศาสตร์ที่
1 การสร้างกระแส เช่น
- การรับสมัครสมาชิกชมรม
- ประชาสัมพันธ์ชมรม
- จัดกิจกรรมดนตรี, กีฬา , การประกวดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ
- การตรวจหาสารเสพติด
- เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ ร่วมกับภาครัฐ
- จัดแข่งขันกีฬาภายในและ หรือ กับหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนและชุมชน
- สนับสนุนทุนการศึกษา/อุปกรณ์ แก่ สถานศึกษา/ชุมชน ฯลฯ
- ร่วมกับชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อม
2.2 กิจกรรมในยุทธศาสตร์ที่
2 การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิต เช่น
- การจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ
TO BE NUMBER ONE
- การอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด
- การทำบุญทางศาสนา / ฟังเทศน์
- การจัดกิจกรรมที่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น
ฝึกอาชีพเพื่อหารายได้
2.3 กิจกรรมในยุทธศาสตร์ที่
3 การสร้างและพัฒนาเครือข่าย เช่น
- สนับสนุนวิทยากร(อบรมให้ความรู้)
เงินทุนและอุปกรณ์ แก่ชุมชนและสถานศึกษา ฯลฯ ในการจัดตั้ง ชมรม TO BE
NUMBER ONE / ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE
- เป็นพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษาในการจัดตั้ง ชมรม TO BE NUMBER
ONE แก่ชมรมอื่น
- สนับสนุนวิทยากรในการอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด
- เปิดโอกาสให้ผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดเข้ามาทำงานได้ ฯลฯ
หมายเหตุ การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งอาจจัดอยู่ได้ในหลายยุทธศาสตร์
หรืออาจอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ต่างกันในแต่ละครั้งที่จัด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการจัดแต่ละครั้ง
3.กองทุน
หมายถึง
กรรมการและสมาชิกร่วมดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อนำเงินรายได้หมุนเวียนใช้จ่ายในชมรม
ซึ่งเป็นแนวทางสู่ความยั่งยืนของชมรม รวมถึงทรัพย์สินของชมรมด้วย
ซึ่งหมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งดังต่อไปนี้
1) เงินซึ่งได้จากการบริจาค การจัดกิจกรรมเพื่อหาทุน
หรือได้รับสนับสนุนจากภาครัฐหรือเอกชนต่างๆ
2) ทรัพย์สิน
- ประเภทไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
เช่น ห้องประกอบกิจกรรมชมรมสถานที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกิจกรรมของชมรม เป็นต้น
- ประเภทสามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์สำนักงาน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์กีฬา ดนตรี ศิลปะ เป็นต้น
ตัวอย่างแหล่งที่มาของกองทุน
1. งบสนับสนุนจากสถานศึกษา/สถานประกอบการ
2. งบสนับสนุนจากภาคราชการ
3. การระดมทุน เช่น